กลุ่มดาวในฤดูหนาว

ช่วงระหว่างวันที่  22 ธันวาคม ถึง 20  มีนาคม เป็นช่วงฤดูหนาวสำหรับประเทศต่างๆ
 ที่อยู่ในเขตอบอุ่นในซีกโลกทางภาคเหนือ   ช่วงเวลาดังกล่าวก็เป็นฤดูหนาวของประเทศไทยด้วย ในวันที่  22  ธันวาคม ซึ่งเป็นที่ดวงอาทิตย์อยู่ ณ ตำแหน่งโซลสตีสฤดูหนาว  บริเวณกลุ่มดาวราศีธนู ( บางแห่งเรียกว่า กลุ่มดาวคนยิงธนู ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ทางใต้สุด ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาว   ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้  และตกในทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้เช่นกัน   ช่วงดังกล่าวกลางคืนจะยาวนานแต่เวลา   กลางวันจะสั้นเนื่องจากช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้าสั้น
กลุ่มดาวฤดูหนาวที่น่าสนใจที่เห็นได้ในประเทศไทย มีอยู่ด้วนกันหลายกลุ่ม
ที่มา : th.wikipedia.org
ตอนช่วงหัวค่ำหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกปรากฏ “ กลุ่มดาวนายพราน ( Orion )”  
มีดาวสว่างซึ่งเป็น “ ไหล่ของนายพราน” ดวงสว่างสีแดงดังกล่าวมีชื่อว่า “ ดาวบีเทลจูส ( Betelgeuse ) “ ดวงสว่างอีกดวงหนึ่งอยู่บริเวณ“ หัวเข่าของนายพราน”   มีสีน้ำเงินสุกใส มีชื่อเรียก ว่า ดาวไรเจล
( Rigel )   บริเวณที่น่าสนใจตรงกลางกลุ่มดาวเห็นเป็นดาว  3   ดวงเรียงกันเป็นเส้น ตรง ซึ่งเป็นส่วน “ เข็มขัดของนายพราน”  และอีกส่วนหนึ่งเป็น “ ดาบของนายพราน”  ซึ่งประกอบ ด้วยดาวหลายดวง  รวมทั้ง “ เนบิวลาใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน ( Great Nebula in Orion )”    ซี่งมีชื่อตามแคตาลอกของเมอซิเออร์ ( Messier Catalog ) ว่า “ เอ็ม  42 ( M42 ) คนไทยเรียกกลุ่มดาวนายพรานว่า “ หมู่ดาวเต่า “ และมองส่วนที่เป็นเข็มขัด และดาบของนายพราน เป็น “ หมู่ดาวไถ “
ที่มา : th.wikipedia.org
หากต่อแนวเข็มขัดของนายพรานออกไปทางด้านเหนือจะพบดาวสีแดงสดมีความสว่างมากอีกดวงหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ดาวอัลดีบาแรน ( Aldebaran ) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดใน“ กลุ่มดาวราศีพฤษภ                
( Taurus )”  หรือ  “กลุ่มดาววัว”   ดาราศาสตร์ฮินดูเรียกดาวสีแดงสดดวงนี้ว่า “ ดาวโรหิณี ( Rohini )”
ที่มา : th.wikipedia.org
ถ้าต่อแนวเข็มขัดนายพรานออกไปทางด้านใต้ จะพบดาวฤกษ์ที่ปรากฏสว่างที่สุดในท้องฟ้า ชื่อว่า “ ดาวซิริอัส ( Sirius ) “ ดาวดวงนี้มีสีน้ำเงินแกมขาวและเป็นดวงดาวที่สว่างที่สุดใน “ กลุ่มดาวหมาใหญ่ ( Canis Major )”
ที่มา: https://sites.google.com
ที่มา: skytonight.info
ถ้าลากเส้นต่อแนวจากดาวไรเจล ผ่านดาวบีเทลจูส จะพบ “ กลุ่มดาวราศีมิถุน (Gemini)” หรือ “ กลุ่มดาวคนคู่”    ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวราศีมิถุน ได้แก่ ดาวพอลลักล์ ( Pollux ) ซึ่งเป็นดาวสว่างสีส้มปรากฏอยู่ข้างดาวสว่างอีกดวงหนึ่ง ชื่อว่า ดาวแคสเตอร์ ( Caster )
ที่มา : www.spacetelescope.org
ช่วงหัวค่ำในตอนฤดูหนาว ณ ตำแหน่งเหนือศีรษะ จะเห็น “ กลุ่มดาวม้าบิน ( Pegasus )” ลักษณะเด่นของกลุ่มดาวนี้ คือดาวฤกษ์  4  ดวง ซึ่งประกอบเป็น “ รูปสี่เหลี่ยมใหญ่ ( Great Square )”   ซึ่งเป็นส่วนของ “ ตัวม้า “ ใกล้บริเวณด้านเหนือของดาวม้าบิน มีกาแลกซีขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะเป็นรูปกังหันเหมือนกาแลกซีทางช้างเผือกของเรา    กาแลกซีดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า “ กาแลกซีแอนโดรเมดา ( Andromeda Galaxy)”  ซึ่งอยู่ใน “ กลุ่มดาวแอนโดรเมดา ( Andromeda )”
ที่มา: thaiastro.nectec.or.th
บริเวณขั้วเหนือท้องฟ้า ( North Celestial Pole ) ซึ่งมีดาวเหนือ ( Polaris )”   ปรากฏอยู่ มีกลุ่มดาวที่น่าสนใจอีก 3   กลุ่ม คือ กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส ( Perseus )กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย ( Cassiopeia )และ           กลุ่มดาวเซฟิอัส ( Cepheus )”
ที่มา : ww.bloggana.com
ระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส และกลุ่มดาวราศีมิถุน มี “ กลุ่มดาวสารถี ( Auriga )”  ซึ่งดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ 
ได้แก่ ดาวคาเพลลา ( Capella )

สามเหลี่ยมฤดูหนาวที่มา :thaiastro.nectec.or.th
สามเหลี่ยมฤดูหนาว เป็นเส้นสมมุติรูปร่างสามเหลี่ยมเชื่อมต่อระหว่างดาวสามดวง สองดวงอยู่บนวงกลมฤดูหนาว คือซิริอุสและโปรซิออน ดวงที่สามคือ ดาวบีเทลจูส ดาวทั้งสามของสามเหลี่ยมฤดูหนาวนี้เป็นดาวสว่างมากโดยติด 10 อันดับแรกของดาวสว่างที่สุดบนท้องฟ้าที่มองเห็นได้จากโลก ดาวบีเทลจุสสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายเนื่องจากเป็นดาวในตำแหน่งไหล่ขวาของ
กลุ่มดาวนายพราน ซึ่งทำให้สามารถค้นหาดาวอีกสองดวงในสามเหลี่ยมฤดูหนาวต่อได้สะดวก
 เมื่อพบสามเหลี่ยมฤดูหนาวแล้วก็สามารถมองเห็นหกเหลี่ยมฤดูหนาว และค้นหาดาวอื่นต่อไปได้อีก

ที่มา : thaiastro.nectec.or.th
 หกเหลี่ยมฤดูหนาว ( Winter Hexagon ) ซึ่งประกอบด้วย ดาวคาเพลลา ดาวอัลดีบาแรน ดาวไรเจล ดาวซิริอัส   ดาวโปรซิออน และดาวพอลลักซ์ ( หรือดาวแคสเตอร์ ) ดาวทั้งหกของหกเหลี่ยมฤดูหนาวเป็นดาวจากกลุ่มดาว 6 กลุ่ม เรียงทวนเข็มนาฬิกาได้ดังนี้ เริ่มต้นที่ดาวไรเจลในกลุ่มดาวนายพราน ตามด้วยกลุ่มดาววัว กลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวคนคู่ กลุ่มดาวสุนัขเล็ก และกลุ่มดาวสุนัขใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น