กลุ่มดาวฤดูใบไม้ผลิ


ช่วงระหว่างวันที่  21  มีนาคม  21  มิถุนายน  นับเป็นฤดูใบไม้ผลิสำหรับประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตอบอุ่นใน ซีกโลกภาคเหนือ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นฤดูร้อนในประเทศไทย ในวันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มาอยู่ ณ ตำแหน่ง เวอร์นอล อิควินอคซ์ บริเวณกลุ่มดาวราศีมีน ซึ่งในวันดังกล่าวนี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกพอดี ช่วงเวลาดังกล่าว กลางวันกับกลางคืนจะเท่ากันพอดี

ที่มา : minniethepooh.exteen.com

กลุ่มดาวที่น่าสนใจที่สามารถสังเกตเห็นได้ช่วงนี้ในประเทศไทย มีหลายกลุ่ม    
เริ่มตั้งแต่บริเวณใกล้ขั้วท้องฟ้าเหนือ ได้แก่ “ กลุ่มดาวหมีใหญ่ ( Ursa Major )”  ที่คนไทยรู้จักกันในรูปของ “ กลุ่มดาวจระเข้”  บางครั้งก็จินตนาการเป็น “ กระบวยตักน้ำ”   
กลุ่มดาวนี้มีดาวฤกษ์สำคัญ  ๒ ดวง คือ ดาวดูบี ( Dubhe ) และดาวเมอแรค ( Merak ) ดาวสองดวงนี้เป็น ตัวชี้ ( Pointer ) ไปยังดาวเหนือ ซึ่งอยู่บริเวณขั้วท้องฟ้าเหนือ ใน “ กลุ่มดาวหมีเล็ก ( Ursa Minor )”    และถ้าต่อเส้นระหว่างดาวดูบี และดาวเมอแรคไปทางใต้ จะพบ “ กลุ่มดาวราศีสิงห์ ( Leo )”  ซึ่งมีดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ คือ ดาวเรกูลัส ( Regulus ) หรือ “ ดาวหัวใจสิงห์”  ดาวดวงนี้อยู่บนเส้นสุริยะวิถี ( Ecuiptic ) พอดี
ที่มา : th.wikipedia.org

ที่มา : www.hope.dek.cc

ดาวอาร์คตุรุส หรือ ดาวดวงแก้ว (Arcturus) คือดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bootes) ถือเป็นดาวสว่างที่สุด   ลำดับที่ 3 บนท้องฟ้ายามราตรี รองจากดาวซิริอุส และ ดาวคาโนปุส ดาวอาร์คตุรุสอยู่ห่างจากโลกประมาณ 36.7 ปีแสง มีขนาด   ของรัศมีที่มากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ    25.7 เท่า มีความสว่างของแสงมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 210 เท่า

ที่มา : minniethepooh.exteen.com

 เมื่อลากเส้นต่อแนวจากส่วนหางของหมีใหญ่ หรือส่วนที่เป็นด้ามจับของกระบวยตักน้ำออกมาเป็นเส้นโค้งสู่อิเควเตอร์ท้องฟ้า     จะพบดาวสีส้มที่สุกสว่างดวงหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ดาวอาร์ค-ตูรัส ( Arcturus ) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดใน “ กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ( Bootes )”  และถ้าต่อแนวเส้นโค้งต่อไปอีกผ่านอิเควเตอร์ท้องฟ้าลงมา จะพบดาวสว่างสีน้ำเงินอีกดวงหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า ดาวสไปกา ( Spica ) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงที่สว่างที่สุดใน “ กลุ่มดาวราศีกันย์ ( Virgo )”

ที่มา : scienceblogs.com

ดาวฤกษ์  ๓  ดวง อันได้แก่ ดาวเรกูลัส ดาวอาร์คตูรัสและดาวสไปกา ประกอบเป็นสามเหลี่ยมใหญ่
บนท้องฟ้า เรียกว่า “ สามเหลี่ยมฤดูใบไม้ผลิ ( Spring Triangle )”

ที่มา : www.gotoknow.org

 ด้านใต้สามเหลี่ยมฤดูใบไม้ผลิ มี “ กลุ่มดาวไฮดรา ( Hydra )”  
 ที่ทอดยาวตามอิเควเตอร์ท้องฟ้า ระหว่างกลุ่มดาวราศีกันย์และกลุ่มดาวไฮดรา 
มีกลุ่มดาวเล็กๆ อีกสองกลุ่ม คือ “กลุ่มดาวนกกา(Corvus)”  และ “กลุ่มดาวถ้วย(Crater)”  แต่กลุ่มดาวทั้งสองกลุ่มนี้ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นดาวที่ไม่ค่อยสว่างมากนัก   
ด้านใต้ของกลุ่มดาวไฮดรา จะเห็น “ ทางช้างเผือก ( Milky Way )
 “ ที่เป็นแถบฝ้าขาวที่สวยงาม และกลุ่มดาวที่ปรากฏอยู่ในทางช้างเผือกบริเวณนี้ที่น่าสนใจมีสองกลุ่ม คือ“กลุ่มดาวเซนทอรัส (Centaurus )”และ“ กลุ่มดาวกางเขนใต้ ( Crux )” 
  กลุ่มดาวเซนทอรัสมีวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ และมีความสวยงามเมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ได้แก่  
“กระจุกดาวโอเมกา เซนทอรี (Omega Centauri)”  
   ส่วนกลุ่มดาวกางเขนใต้ก็เป็นกลุ่มดาวที่มีความสวยงาม แต่มองเห็นได้ยากสำหรับผู้ที่อยู่ในซีกโลกเหนือ คนไทยในอดีตเรียกดาวอาร์คตูรัส ว่า “ ดาวดวงแก้ว” หรือ  “ดาวยอดมหาจุฬามณี”  
ส่วนดาวสไปกา มีชื่อเรียกว่า “ ดาวรวงข้าว”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น