กลุ่มดาวในฤดูใบไม้ร่วง

ฤดูใบไม้ร่วงสำหรับประเทศต่างๆ ในเขตอบอุ่นในซีกโลกภาคเหนืออยู่ระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 21 ธันวาคม   ชึ่งในประเทศไทยจะเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว วันที่ 23 กันยายน  ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดออทัมนอลอิควินอกซ์   บริเวณกลุ่มดาวราศีกันย์  ช่วงนี้เวลากลางวันจะเท่ากับกลางคืน และหลังจากนั้นกลางคืนจะเริ่มยาว   ส่วนกลางวันจะเริ่มสั้นลงตามลำดับ

กลุ่มดาวหมีใหญ่และดาวค้างตาว  ที่มา : ww.electron.rmutphysics.co

 กลุ่มดาวราศีพิจิก   ที่มา : phuketindex.com

ในช่วงหัวค่ำ   เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้าทางทิศเหนือ    จะเห็นกลุ่มดาวหมีใหญ่กำลังจะตก และกลุ่มดาวแคสซิโอเปียกำลังขึ้นเหนือขอบฟ้าบริเวณขอบขั้วท้องฟ้าเหนือ      ส่วนทางทิศใต้จะเห็นกลุ่มดาวราศีพิจิกเกือบอยู่บนเส้นเมอริเดียน

ที่มา : Writer.dek-d.com

ที่มา :stsrs.astro.illinois.edu

ในช่วงเวลาเที่ยงคืน   “ สี่เหลี่ยมใหญ่ของกลุ่มดาวม้าบิน” จะอยู่บริเวณจุดเหนือท้องฟ้าพอดี  และกลุ่มดาวต่างๆ ที่มองเห็นในช่วงฤดูหนาวตอนหัวค่ำจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงตอนราวเที่ยงคืน ไม่ว่าจะเป็น “กลุ่มดาวอันโดรเมดา”   “เปอร์ซิอัส”     “แคสซิโอเปีย” และ”  “เซเฟอัส”



ที่มา:www.myfirstbrain.com

ด้านใต้ของกลุ่มดาวอันโดรเมดาจะมองเห็นกลุ่มดาวขนาดเล็กที่น่าสนใจ  2  กลุ่ม คือ “ กลุ่มดาวสามเหลี่ยม ( Triangle )”   และ “กลุ่มดาวราศีเมษ ( Aries )”   ส่วนด้านใต้กลุ่มดาวม้าบินจะเป็น “ กลุ่มดาวราศีมีน ( Pisces )”

 ที่มา :siriwan72.wordpress.com

ในช่วงราวเที่ยงคืนนี้   “กลุ่มดาวสารถี”   เริ่มปรากฏเหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือ    ส่วนในซีกใต้บริเวณเส้นเมอริเดียน จะปรากฏ “ กลุ่มดาวปลาทางใต้ ( Piscis Austrinus )” ซึ่งมีดาวฤกษ์สว่างที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน คือ โฟมาลโฮท์ ( Fomalhaut )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น